ประวัติสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ
 
 
 
 

 สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ

 

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ (Sisaket Public Relations office) เป็นสำนักงานจากกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2545 ที่ได้กำหนดให้กรมประชาสัมพันธ์มีบทบาทภารกิจเกี่ยวกับการเป็นศูนย์กลางการประชาสัมพันธ์ภาครัฐ เพื่อให้การดำเนินงานประชาสัมพันธ์เป็นไปอย่างมีระบบ   โดยการเสนอแนะนโยบายด้านการประชาสัมพันธ์ให้กับรัฐบาลและส่วนราชการต่างๆ และดำเนินการประชาสัมพันธ์  “ เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถใช้ข้อมูลข่าวสารของรัฐ    ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ    รวมทั้งเกิดภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย  กฎกระทรวงฯกำหนดให้สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด” สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ  เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในงานด้านการประชาสัมพันธ์ของจังหวัด  ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด ในด้านการประชาสัมพันธ์ รวบรวมข่าวสารทางราชการภายในจังหวัด เผยแพร่ให้ราษฎรในจังหวัดได้ทราบและเข้าใจ โดยผ่านสื่อมวลชนและการใช้อุปกรณ์ประชาสัมพันธ์อื่นๆ ซึ่งในการปฏิบัติงานนั้น ได้ศึกษาและปฏิบัติในการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลข่าวสารกับทางราชการและประชาชนที่มีติดต่องาน นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้ออกปฏิบัติงานทำข่าวในสถานที่ต่าง ๆ อีกด้วย สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมประชาสัมพันธ์ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดเป็นราชการส่วนภูมิภาค ตามพระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ 2518   ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2518   โดยให้มีการเริ่มตั้งสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด       ครั้งแรกในปีงบประมาณ 2523 ตั้งเพียง 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก  สกลนคร  อุตรดิตถ์  ประจวบคีรีขันธ์และปัตตานี และในปีงบประมาณ  2524  ก็ได้จัดตั้งสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษขึ้น      

เริ่มก่อตั้งสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ

 กรมประชาสัมพันธ์ได้เล็งเห็นความสำคัญและปัญหาในด้านต่างๆ ของจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้มีการจัดตั้งสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ ในปี พ.ศ. 2524   จากปี 2524 จนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลากว่า 39 ปี ของการก่อตั้งสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด   ศรีสะเกษ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ได้ปฏิบัติภารกิจในด้านต่าง ๆ อย่างเต็มกำลังความสามารถ จนผลงานเป็นที่ยอมรับของประชาชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จยิ่งใหญ่ ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความเสียสละและความร่วมมือ ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกคนกับส่วนราชการ และประชาชนในพื้นที่

   นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีผู้บริหารหน่วยงานที่นำพาบุคลากรในสังกัดพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงาน ตามบทบาทและภารกิจ ของสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ  ให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชน ตามลำดับดังนี้

1. นายบัณฑิต    ตั้งประเสริฐ      พ.ศ. 2524 – 2528

2. นายประจิต     พัชรินทร์ศักดิ์     พ.ศ. 2528 – 2533

3. นายสัมฤทธิ์    สายเพชร      พ.ศ. 2533 – 2534

4. นายสมพงษ์      ปัตตานี     พ.ศ. 2534 – 2538

5. นายรักสิทธิ์      วาทโยธา     พ.ศ. 2538 – 2541

6. นางปรัชญาภรณ์    สงค์รอด    พ.ศ. 2541 – 2543

7. นายบุญคุ้ม    เพิ่มสินธุ์    พ.ศ. 2543 – 2543

8. นายเสน่ห์     มีพร้อม     พ.ศ. 2543 – 2544

9. นายสมจิตร    ทิมรอด    พ.ศ. 2544 – 2548

10. นายภูมิสิทธิ์    ขันตยานุกูลกิจ   พ.ศ. 2548 – 2551

11. นายดุสิต      สิงห์คีรี   พ.ศ. 2551 – 2553

12. นายเดชอนันต์   ธนานันต์    พ.ศ. 2553 – 2554

13. นายพินิจ     วงษ์โสภา    พ.ศ. 2554 – 2560

14. นายไพชยนต์    ชนะกาญจน์    พ.ศ. 2560 – 2562

15. นายสุพิชัย     หล่าสกุล    พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน

 

 

 

 ตราสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ กรมประชาสัมพันธ์

      ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฎในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 7 เล่มที่ 64 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2490 กำหนดเครื่องหมายราชการ "กรมโฆษณาการ” ให้เป็นรูปพระอินทร์เป่าสังข์เหาะลอยอยู่เหนือเมฆ มีวงกลมล้อมรอบตามวรรณคดีกล่าวไว้ว่า พระอินทร์เป่าสังข์ปลุกพระนารายณ์ให้ตื่นจากบรรทมสินธุ์ในสะดือทะเล เพื่อขึ้นมาปราบเหตุร้ายต่าง ๆ ในโลก อย่างไรก็ดี โดยที่สังข์ ตามลัทธิพราหมณ์ถือว่าเป็นมงคล 3 คือ สังข์ ถือกำเนิดจากพระพรหม ท้องสังข์เคยเป็นที่ซ่อนคัมภีร์พระเวทและตัวสังข์ มีรอยนิ้วพระหัตถ์ ของพระนารายณ์ ในพิธีทางศาสนา พราหมณ์ จึงมีการเป่าสังข์เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย นอกจากนี้ พระในลัทธิชินโตก็ใช้สังข์เป่าในพิธีมงคลพวกชาวเกาะทะเลใต้ เป่าสังข์ บอกสัญญาณระหว่างกันปรากฏว่าได้ยินไปไกลไม่แพ้เป่าเขาควาย เนื่องจากงานประชาสัมพันธ์เป็นการโฆษณาเผยแพร่และอธิบายชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจอย่างกว้างขวางเป็นการสร้างความเข้าใจอันดี โดยมีวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และภาพยนตร์เป็นเครื่องช่วย จึงเปรียบได้กับการเป่าสังข์ของเทวดาในสมัยโบราณเพื่อบอก สัญญาณ และเรียกประชุม นั่นเอง

 

 สีกรมประชาสัมพันธ์

ใช้สีม่วง ซึ่งถือกันว่าเป็นสีของงานสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์

 

Link banner

 

 

 <a href="http://www.prd.go.th" target="_blank"><img src="http://www.prd.go.th/images/prd_banner01.jpg" border="0" alt="กรมประชาสัมพันธ์"

image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar